บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2014

หุ้นเล็กดีอย่างไร

ก่อนที่จะตอบคำถามข้างต้น ผมก็อยากที่จะให้นิยามเพื่อทำความเข้าใจที่ตรงกันก่อนว่าหุ้นเล็กคืออะไร หุ้นเล็กคือหุ้นที่มี Market Capitalization น้อยกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 30,000 ล้านบาท) ในตลาดหลักทรัพย์ไทยอาจจะถือเอาเกณฑ์ที่น้อยกว่าคือ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท) ทำไมเขาต้องแบ่งว่าหุ้นนี้เป็นหุ้นเล็ก กลางหรือใหญ่ วิธีนี้เป็นวิธีการแบ่งตามเกณฑ์ของ “นักลงทุนสถาบัน” เพื่อที่จะจัดสรรเงินลงทุนตามขนาดของกองทุนที่บริหารอยู่ได้อย่างเหมาะสม ถ้าขนาดกองทุนใหญ่มากมาก การจัดสรรเงินลงทุนแค่ 1% ลงไปในหุ้นเล็กอาจจะมากจนใกล้ราคาของ Market Cap อาจจะทำให้กองทุนแห่งนั้นต้องกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งจะเขาต้องเข้าไปเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร ซึ่งจะเป็นการยุ่งยากที่จะทำ หรือถ้าถือหุ้นเกิน 25% จะต้องเข้าทำคำเสนอหุ้นทั้งหมดในตลาด ซึ่งบางครั้งกองทุนก็ไม่อยากจะทำ ปัญหาด้านสภาพคล่อง มูลค่าการซื้อขายต่อวันที่น้อย และปัญหาอื่นๆซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของบริษัทขนาดเล็ก ที่ทำให้กองทุนและนักลงทุนสถาบันทั้งหลาย ต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ มาทำการพิจารณาการลงทุนในหุ้นที่มี Ma

Fund Flow พลังเม็ดเงินลิขิตหุ้น

ชาววีไอคงคุ้นเคยกับคำว่า “ ซื้อหุ้นดี ในราคาที่เหมาะสม ” แล้วการลงทุนก็จะประสบความสำเร็จเองโดยไม่จำเป็นต้องสนใจสภาวะตลาดมากนัก ผมมีความเห็นแย้งกับข้อความดังกล่าว ทั้งนี้เพราะผมคิดว่า การเข้าใจในเรื่อง Fund Flow หรือเศรษฐกิจมหภาค จะช่วยให้เราสามารถมองเห็นโอกาสในการลงทุนต่างๆได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นราคา หรือเน้นช่วงเวลาก็ตาม ในเวลาที่ Fund Flow ออกไปจากระบบ อธิบายให้เข้าใจง่ายว่าเหมือนเวลาน้ำลง จะเป็นเวลาที่จะทำให้เราสามารถซื้อของดีได้ ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานได้ ส่วนในเวลาที่ Fund Flow เป็นขาขึ้นก็เป็นเวลาที่ทำให้เรามีสภาพคล่องที่มากขึ้น เป็นโอกาสให้เกิดการขายทำกำไรหรือเปลี่ยนสัดส่วนหรือสินทรัพย์ในการลงทุน และที่สำคัญที่สุดที่เราต้องทำความเข้าใจคือ น้ำบนโลกนั้นมีเท่าเดิม ถ้าน้ำลดในโลกด้านหนึ่ง น้ำจะไปขึ้นที่โลกอีกด้านหนึ่งเสมอ ถ้าน้ำในแม่น้ำกำลังลดลง น้ำในทะเลกำลังเพิ่มขึ้น และที่ต้องท่องไว้ให้ขึ้นใจอีกอย่างก็คือ น้ำขึ้นและน้ำลง จะเกิดสลับกันไปเสมอ เมื่อเป็นขาขึ้นก็จะขึ้นไปจนถึงระดับน้ำสูงสุด และเมื่อลง ก็จะลงไปถึงระดับน้ำลงต่ำสุด น้ำขึ้นและน้ำล

VI หรือ MI (2)

ถ้าจะนับปริมาณเม็ดเงินสำหรับการลงทุนในแบบต่างๆในโลกนี้ การลงทุนในแนววีไอนั้น ถือเป็นเม็ดเงินเพียงส่วนน้อย เมื่อเทียบกับปริมาณเงินทั้งหมดที่โลกของเรามี ถ้าจะถามว่าเงินส่วนใหญ่ในโลกนี้ไปอยู่ที่ไหนหมด เราจะต้องมาทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่าปริมาณเงินก่อน ปริมาณเงิน มีอยู่สองแบบ คือ ปริมาณเงินตามความหมายแคบ คือนับเฉพาะส่วนที่มีสภาพคล่องสูงสุด สามารถนำออกมาใช้ได้ในทันที ปริมาณเงินตามความหมายแคบหรือ M1 = ธนบัตรที่หมุนเวียน + เหรียญกษาปณ์ + เงินฝากกระแสรายวัน และปริมาณเงินตามความหมายกว้าง M2 ประกอบด้วย M1 ข้างต้น + เงินฝากของประชาชนในรูปของเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ เงินฝากในรูปตั๋วสัญญาใช้เงิน จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือน กค.ปี57 เรามีเงินตามความหมายกว้างอยู่ที่ 16 ล้านล้านบาท และมีเงินตามความหมายแคบอยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาท แปลว่าเงินฝากมีมากกว่าเงินที่หมุนเวียนอยู่ถึง 10เท่า เมื่อมีความต้องการเพิ่มหรือลดปริมาณเงินในระบบ อย่างเช่นนโยบาย QE ที่เราคงได้ยินกันบ่อยๆ ทางธนาคารกลางของสหรัฐไม่ได้พิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาจริงๆ ทั้งนี้เพราะในเวลาเศรษฐกิจฝืดเคือง ค

ราคา คุณค่า กับ มูลค่า (Price, Value and Worth)

ห่างหายกันไปนานจนไม่รู้จะเริ่ม เกริ่นเข้าบทความในตอนใหม่อย่าง ไรดี วันนี้ก็เลยอยากจะเริ่มกับเรื่อ งที่ดูเหมือนง่าย แต่คนทั่วไปมักจะเข้าใจสับสนกัน มากที่สุด นั่นคือความแตกต่างของคำสามคำใน วันนี้ คือคำว่า ราคา คุณค่า และ มูลค่า ว่าแต่ละคำมีความหมายและที่ใช้ใ นเรื่องของการลงทุนอย่างไร ราคา (Price) คือ ตัวเลขอ้างอิงที่บอกถึง “จำนวนเงิน” ที่ต้องใช้ เพื่อให้เก ิดการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนในสิ ่งนั้นๆขึ้น ราคาของสิ่งต่างๆที่เราพบเห็นใน ชีวิตประจำวันมีสองแบบคือราคาซื ้อขาย (Matched Price) และราคาอ้างอิง (Reference Price) Reference Price คือราคาอ้างอิงที่หน่วยงานหรือผ ู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจ ะทำการประเมินและประกาศออกมา เช่น ราคาขายรถยนต์ที่บริษัทประกาศออ กมา ราคาที่ดินที่เป็นราคาประเมิน ราคาคอนโดที่บริษัทประกาศ ราคาหุ้น IPO ราคาแนะนำน้ำมันขายปลีก ฯลฯ ราคาอ้างอิงนี้เราอาจจะไม่ได้ซื ้อขายได้จริงตามราคานี้ก็ได้ เช่น รถยนต์ที่ขายยากก็อาจจะมีการจัด โปรโมชั่นต่างๆ คอนโดที่มีการเก็งกำไรและขายหมด ไปแล้วอาจจะมีราคาแพงกว่าราคาอ้ างอิงก็ได้ Matched Price คือราคาซื้อขายที่เกิดขึ้นจริง ที่เกิดขึ้นได้เพ

จากเกมเศรษฐีในโลกเสมือน สู่เกมเศรษฐีในชีวิตจริง

ผมคิดว่าแฟนเพจหลายท่านคงเคยเล่นเกมเศรษฐีหรือกำลังเล่นเกมเศรษฐี ถ้าใครอายุมากพอ คงจะคุ้นเคยกับเวอร์ชั่นเกมกระดานและเงินกระดาษ แต่ถ้าใครเกิดไม่ทันไม่เป็นไร ตอนนี้ Line เขาเอามาให้ลองเล่นในรูปแบบของฟรี Application ทำไมผมจึงต้องเขียนเรื่องเกมเศรษฐี อย่างแรกก็เพราะว่า “จะได้ไม่ตกเทรนด์”  และอย่างที่สองก็เพราะว่า “มันใช้ได้ผล” สำหรับเรื่องแรก “การไม่ตกเทรนด์” อันนี้ไม่ใช่เรื่องไร้สาระแต่อย่างใด เพราะในโลกยุคปัจจุบันนี้ ถ้าไม่ได้เป็นเศรษฐี ก็เห็นทีว่าจะเริ่มอยู่ยากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเทอม ที่รู้สึกว่า การเป็นเศรษฐี “เป็นวิชาบังคับเลือก” มากขึ้นไปทุกที แต่สำหรับเรื่องที่ว่า “มันได้ผล” นี่ ชักเริ่มน่าสนใจแล้วว่า มันใช้ได้ผลยังไงเหรอ การเล่นเกมเศรษฐีในโลกเสมือนนี่ มันจะช่วยให้เรามีทักษะในการรวยได้ในโลกของความเป็นจริง ได้อย่างไร? ก่อนที่จะทำความเข้าใจว่าทำไมมันจึงใช้ได้ผล ผมคิดว่าทุกท่านคงต้องไปลองเล่นกันดูก่อน เพื่อที่จะได้เข้าใจกฏ กติกา มารยาท ในเกม  https://itunes.apple.com/th/app/line-lets-get-rich/id870365423?l=th& แต่ถ้

อำนาจซื้อ... ไม่ได้วัดกันที่เงินเพียงอย่างเดียวนะ

ในทางการตลาด เราสามารถแบ่งผู้บริโภคหรือ consumer ออกได้เป็นประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการจำแนก ทำความเข้าใจ และการออกแบบกลยุทธ์ ทั้งหมดเพื่อให้เกิดการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และการได้มาซึ่งยอดขายของลูกค้าในกลุ่มที่บริษัทของเราต้องการ วิธีการง่ายๆอย่างหนึ่งในการใช้จำแนกกลุ่มลูกค้าออกเป็นประเภทต่างๆ คือการจำแนกโดยการอาศัย “รายได้” ของผู้บริโภค ออกเป็นกลุ่มต่างๆ เช่นตั้งแต่ สูงมาก สูง ปานกลาง ปานกลางค่อนต่ำ และ รายได้ต่ำ ซึ่งนักการตลาดพบว่า การจำแนกผู้บริโภคตามฐานรายได้ ก็ช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่มได้ดีขึ้น ปัจจัยอย่างหนึ่งที่นักการตลาดไม่ค่อยได้เอามาคิดคำนึงถึงว่าเป็นอำนาจซื้อเหมือนกัน นั่นก็คือ “เวลา” ทำไมเวลาจึงเป็นข้อมูลอันสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาควบคู่ด้วยกันไปเสมอในการจัดกลุ่มของอำนาจซื้อของผู้บริโภค มาลองดูกันต่อกันในรายละเอียดเลยครับ การพิจารณา “อำนาจซื้อ” ด้วยการพิจารณาในฐานของ “รายได้และเวลา” ควบคู่กัน จะแบ่งคนหรือผู้บริโภคออกเป็นกลุ่ม สี่กลุ่ม ดังต่อไปนี้ กลุ่มแรก มีเงินน้อย มีเวลาน้อย กลุ่มนี้ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่

ลงทุนแบบ "Trigger Fund" ดีหรือไม่

ลงทุนแบบ Trigger Fund ดีหรือไม่ เวลาตลาดหลักทรัพย์เริ่มคึกคัก ผมสังเกตเห็นว่าจะมีการเสนอขายหน่วยลงทุนแบบ Trigger fund ออกมาให้นักลงทุนได้พิจารณาเสมอ นักลงทุนบุคคลหลายท่านก็ใช้นโยบายการลงทุนของตัวเองคล้ายๆการลงทุนแบบ Trigger Fund การลงทุนแบบ Trigger fund นั้นดีหรือไม่ นักลงทุนแบบไหนที่เหมาะหรือไม่เหมาะกับการลงทุนแบบนี้   8% เราควรยินดีหรือไม่ วันนี้มาลองดูความเห็นในมุมมองส่วนตัวของผมดูว่า Trigger fund หรือ Long term fund อย่างไหนที่เราควรจะจัดสรรเงินไปลงทุนมากกว่ากัน โดยหลักการ Trigger fund จะใช้หลักการของ Market timing, Speculation, Market turnover ที่มากเพียงพอ   และ Positive Fund flow มากกว่าหลักการของการประเมิน Valuation และ Stock Selection ดังนั้นผลที่ติดตามมาจากนโยบายการลงทุนแบบนี้คือ ราคาหลักทรัพย์ในขณะนั้น มักจะไม่ถูกหรือมี margin of safety เพียงพอ แต่ก็มีข้อดีคือบริหารจัดการง่ายกว่าและดูเหมือนว่าจะไม่ต้องรอกันนาน การลงทุนแบบ “ ขึ้นขาย ” “ ลงไม่ขาย ” แบบ Trigger Fund นี้ ดูผิวเผินแล้วเหมือนว่าจะไม่มีทางขาดทุน มีแต่กำไร   แต่ส่วนตัวแล้วผมกลับมองว่า มันเป็นการลงทุ

ภาพใหญ่ "กลุ่มอาหาร"

ในบรรดาการลงทุนต่างๆที่ผ่านมา ผลกำไรจากการลงทุนหุ้นและราคาหุ้นในกลุ่มอาหาร เป็นกลุ่มหนึ่งที่มีการเพิ่มขึ้นดีกว่าตลาดที่มากและต่อเนื่อง ภาพใหญ่ในกลุ่มอาหารนั้นง่ายและชัดเจนเนื่องจากมันเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเราโดยตรง เราชิมได้ การลงทุนในสิ่งที่เราเข้าใจดีจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่า และนี่คือสิ่งที่ผมสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆจากการตระเวณชิมอาหาร ในพื้นที่ต่างๆ ในเวลาต่างๆ และในเขตวัฒนธรรมต่างๆ มานานนับสิบปี 1.โลกเราจะบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น เวลาผมเดินทางไปยังหมู่บ้านที่ร่ำรวยและยากจนบนโลก ความแตกต่างที่ชัดเจนคืออาหารมีโปรตีนสูง เช่นเนื้อสัตว์ จะมีสัดส่วนในอาหารที่มากขึ้น เมื่อประชาชนอยู่ในพื้นที่ที่เศรษฐกิจดีกว่า ความยากจนส่วนมาก จะอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ เป็นบริเวณที่มีต้นทุนการติดต่อกับโลกภายนอกที่สูง สภาพอากาศไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ การผลิตขนส่งเนื้อสัตว์เข้าไปทำได้ยากและมีราคาแพง ถ้าคนจนในจีน อินเดีย พม่า เวียดนาม อินโดนีเซีย รวยขึ้น เขาจะกินข้าวได้เท่าเดิม แต่จะกินเนื้อเพิ่มขึ้น เนื้อที่ผลิตง่าย มีอัตราแลกเนื้อต่ออาหารที่สูง และราคา

ชีวิตไม่ยาก ถ้าตั้งโจทย์ง่าย

หลังจากที่ผมเขียนถึงหนังสือมาหลายเล่ม วันนี้เดินผ่านร้าน B2S ผมก็ได้พานพบกับหนังสือเล่มเก่าที่คุ้นเคย “ชีวิตไม่ยาก ถ้าตั้งโจทย์ง่าย” ของพี่ตุ้ม คุณหนุ่มเมืองจันท์ พี่ตุ้ม คือคนที่ทรงอิทธิพลที่สุดในชีวิตของผมคนหนึ่ง หลังจากที่ผมก้าวพ้นจากรั้วมหาลัยแล้ว ชีวิตในมหาวิทยาลัยของผมนั้นง่ายแสนจะง่าย “คุณตั้งโจทย์มา ผมหาทางแก้ไป” โจทย์ยากแค่ไหน ผมก็แก้ได้ เพราะเรียนๆ สอบๆ มาเกือบทั้งชีวิต แต่พอพ้นรั้วมหาลัยแล้ว ผมก็เริ่มจะเห็นในแก่นแท้ของความยากในชีวิต เพราะว่า ไม่มีใครคอยมาตั้งโจทย์ให้ผมแก้อีกแล้ว ผมต้องตั้งโจทย์ชีวิตของผมเอง ผมว่านี่ก็เป็นวิชาที่โรงเรียนไม่ได้สอนอย่างหนึ่งเลยนะ คือวิชา “การตั้งโจทย์ชีวิต” และพี่ตุ้ม ก็สะกิดต่อมคิด ว่าวันนี้ เราตั้งโจทย์ชีวิตอะไรกันอยู่บ้าง บางคน เซ็งกับการแก้โจทย์ไรไม่รู้มาทั้งชีวิต พอเรียนจบปุ๊ป ขอใส่เกียร์ว่างก่อนเลย “หนูไม่เอาอีกแล้ว” บางคน ประสบความสำเร็จมาอย่างสูง ชีวิตหลังเรียนจบ “ขอตั้งโจทย์ยากไว้เลย” ไม่งั้นไม่เท่ การตั้งโจทย์ยากนั้นเป็นของดี ถ้าเราใช้ให้ถูกทิศ มันช่วยเป็นแรงผลักดันในชีวิตเราได้ แต่ก็อย่าย

Asset Rich/ Asset Light

Asset Rich/ Asset Light วันนี้เราเปลี่ยนมาคุยเรื่องยากๆกันบ้างดีกว่า เรื่องยากๆในวันนี้คือเรื่องความแตกต่างระหว่าง business models 2 แบบ คือแบบ Asset Rich และแบบ Asset Light Asset ในที่นี้หมายถึง Total Asset ของบริษัท ซึ่งประกอบด้วยสองส่วนคือ สินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวร Current Assets + Fixed Assets = Total Assets Business models สองแบบนี้ต่างกันตรงที่ เมื่อได้กำไรกลับมาแล้ว เงินกำไรเหล่านั้นได้ถูกจัดการอย่างไร ใน Asset Rich Model เงินกำไรจะถูกนำไปลงทุนต่อใน Fixed Asset ไม่ได้ปล่อยออกมาจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น ในขณะที่ Asset Light Model เงินกำไรจะถูกนำมาจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น ส่วนการขยายงานจะทำในรูปการเพิ่ม Current Asset หรือ Financial Asset แทน ผลกระทบต่อ Business Model ทั้งสองแบบนี้ ต่อฐานะทางการเงินและอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทจะต่างกันออกไป ข้อดีของ Asset Rich Model คือ 1.บริษัทมีความมั่งคั่งที่สะสมอยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวรเป็นจำนวนมากกว่า 2.บริษัทสามารถหักค่าเสื่อมราคาได้มากกว่า ซึ่งจะทำให้กำไรทางบัญชีลดลง แต่ก็จ่ายภาษีและเงินปันผลลดลงด้วย จ