บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2014

โรคนี้ ที่คุณสร้างเอง

โรคภัยไข้เจ็บและความชรา ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีใครที่จะปราถนา คนเราทุกคน ไม่ว่าหญิงหรือชาย รวยหรือจน คนไทยคนจีน นั้นเหมือนกันหมด  ไอ้ที่เหี่ยว... ก็อยากให้เด้ง ไอ้ที่เจ๊ง... ก็อยากให้หาย  ไอ้ที่เจ็บ... ก็อยากให้คลาย  ส่วนไอ้ที่ตาย.... ก็อยากให้ฟื้น  ตอนที่ยังดีอยู่ ก็ไม่รู้ค่าอะนะ พอมันเจ๊งขึ้นมา ถึงค่อยลงมือทำ (กลุ้มใจแทน) การสร้างสุขภาพนั้นถูกกว่า ได้ผลดีกว่า และง่ายกว่า การคิดมาซ่อมภายหลังมาก ร่างกายของคนเรานั้นถูกสร้างมาดีทุกอย่าง เสียอยู่อย่างเดียวคือว่า พอมันเสีย มันไม่มีอะไหล่มาให้เปลี่ยนอะดิ พอเอาเข้าอู่เอาไปให้หมอซ่อม เผลอๆเอาออกมาอีกที อาการเจ๊งหนักลงกว่าเก่าอีก แม้โรคภัยไข้เจ็บจะไม่เป็นที่ต้องการของใครเลย แต่ทราบกันหรือไม่ครับว่า โรคภัยส่วนใหญ่สมัยนี้ เราสร้างกันเองทั้งนั้น ร่างกายเราที่เจ๊ง ไม่ใช่ว่าเพราะเราใช้มันมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นเพราะใช้กันไม่ถูกวิธี วันนี้มาดูกันว่า โรคที่เราสร้างกันเองมีอะไรได้บ้าง มันเป็นอย่างไร แล้วมันสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีใด โรคอย่างแรก โรค (กิน) เกิน โรคเกิน ต้องมาขยายความกันนิด เพราะสมัยนี้ มันเกินๆกันอยู่หลายอย่าง

รอยรั่ว ที่มองไม่เห็น

การลงทุนนั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากการออม เราไม่สามารถเอาเงินมาลงทุนได้ ถ้ายังไม่มีเงินออม ดังนั้นการที่เราจะสามารถเป็นนักลงทุนที่ดีได้ เราจะต้องเป็นนักออมเงินที่ดีด้วย ใครที่ได้เงินลงทุนที่ไม่ได้มาจากการออม (เช่นมรดก) ถ้าไม่จบตรงที่การกลายเป็นค่าใช้จ่าย ก็มักจะลงเอยด้วยการสูญเสีย เพราะมันเป็นเงินที่ได้มาฟรี สมการการออมนั้นง่ายแสนง่าย รายได้ - รายจ่าย = เงินออม ดังนั้นเพื่อที่จะมีเงินออมมาลงทุนได้เพิ่มขึ้น เรามีทางเลือกเพียงสองทางคือ 1.เพิ่มรายได้ หรือ 2.ลดค่าใช้จ่าย วันนี้เรามาดูเรื่องค่าใช้จ่าย หรือ “รอยรั่ว” ในกระเป๋าสตางค์ที่เราหลายคนอาจมองข้าม มาดูกันว่า ถ้าเวลาผ่านไป 1 ปีหรือ 20 ปี รูรั่วเหล่านี้ จะสร้างความเสียหายแก่เงินออมของเราได้มากเพียงใด เริ่มจาก บุหรี่ ถ้าเราสูบทุกวันวันละ 1 ซอง รูรั่วนี้จะสร้างความเสียหาย 65 บาทต่อวัน, 23,725 บาทใน 1 ปี, และ 474,500 บาทใน 20 ปี เบียร์ ถ้าเราดื่มเบียร์ทุกวันวันละ 1 กระป๋อง รูรั่วนี้จะสร้างความเสียหาย 35 บาทต่อวัน, 12,775 บาทใน 1 ปี, และ 255,500 บาทใน 20 ปี กาแฟพรีเมี่ยมยี่ห้อหนึ่ง ถ้าเราดื่มกาแฟวันละ 1 แก้ว 5 วันต่ออาทิตย์

ทำไงจึงจะรักการอ่าน

การอ่านช่วยให้การลงทุนประสบความสำเร็จ เพราะในการประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้น “เราจะต้องเห็น ก่อนที่คนอื่นจะเห็น” และ “ซื้อ ก่อนที่คนอื่นจะเห็น” การเห็น ในสิ่งที่คนอื่นยังไม่เห็น มีคำที่ใช้เรียกสิ่งนี้ว่า “วิสัยทัศน์” และวิสัยทัศน์นั้น มีสิ่งสำคัญที่จะสร้างมันขึ้นมาได้ก็คือ “การอ่าน” และ “การฟัง” ผมไม่แน่ใจว่าทำไมผมจึงชอบการอ่าน อาจเป็นเพราะผมไม่เคยมีประสบการณ์ไม่ชอบมันก็ได้ครับ ดังนั้นผมจึงไม่เคยรู้ว่า การไม่ชอบการอ่านนั้นเป็นอย่างไร การตอบคำถามนี้จึงต้องอาศัยการคาดการณ์อยู่เหมือนกันว่าอะไรที่อาจจะเป็นสาเหตุได้บ้าง อาจจะดูเหมือนเล่าเรื่องส่วนตัว แต่ผมคิดว่าดีกว่าจะตอบเป็นคำตอบทางวิชาการครับ อย่างแรก ที่บ้านผมไม่มีทีวีดู จนกระทั่งผมมีอายุได้ 7ขวบแล้ว ที่ผมจำเรื่องนี้ได้ดี เพราะสมัยนั้นมีหนังสามมิติมาฉายบนทีวีแล้วก็ต้องซื้อแว่นตาสามมิติมาดูกัน แล้วผมต้องไปอาศัยดูที่บ้านคนอื่น ที่บ้านไม่มีทีวีครับ มาทราบภายหลังว่าทีวีสมัยนั้นยังแพง บ้านก็อยู่ไกล คลื่นมาไม่ถึง ดังนั้นตั้งแต่เด็กมา ผมไม่มีทางเลือกรับข่าวสารอื่นใด นอกจากการอ่าน และการฟังผู้ใหญ่พูด อย่างที่สอง ที่บ้านก็ไม่

หนังสือเปลี่ยนชีวิต

นิสัยที่ดีอย่างหนึ่งของผมคือการรักการอ่าน เท่าที่จำได้คือผมรักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก หนังสือทุกเล่มในบ้านจะถูกผมอ่านจนเกลี้ยงเสมอ พอโตขึ้นมาก็อ่านหนังสือในห้องสมุด สำหรับหนังสือเรียนแค่ไม่กี่เล่ม ไม่เพียงพอต่อการหิวความรู ้ของผมแน่นอน ตอนนี้พอไม่ถูกบังคับให้อ่านอะไรแล้ว ผมก็ยิ่งสนุกกับการอ่าน ไม่ใช่การอ่านเพื่อไปทำข้อสอบเหมือนอย่างเคย แต่เป็นการอ่านเพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้ ไปแก้ปัญหาสำคัญในด้านต่างๆของชีวิต การอ่านนั้น สำหรับผมแล้ว คำจำกัดความของมันมีแค่สั้นๆง่ายๆนั่นคือ “ความสามารถพิเศษของมนุษย์ ที่สามารถเรียนรู้โลก ผ่านสายตาของบุคคลอื่นได้” หนังสือที่ดีนั้นมีมากมายหลายเล่ม สำหรับเรื่องของการลงทุน หนังสือดีนั้นก็มีมากมายหลายเล่ม แต่มีเพียงสองเล่มที่ผมพอจะเรียกมันได้ว่า “หนังสือเปลี่ยนชีวิต” เล่มแรก ผมไปเจอมันที่ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตอนแรกดูหน้าปก ก็ไม่ได้น่าสนใจอะไร มันถูกวางอยู่ในชั้นหนังสือ รวมอยู่กับหนังสือภาษาไทยอื่นๆที่เกี่ยวกับการลงทุน โชคดีที่หนังสือภาษาไทยในตอนนั้นมีไม่มาก ที่เขียนได้ดีก็น้อยมากๆลงไปอีก ในตอนนั้นเป็นปี 2546 หลังวิกฤตเศรษฐกิจการเผาจริงมาได้ประมาณ

คอนโด ซื้อหรือเช่า? มุมมองในการมีหรือไม่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นของตัวเอง

การมีบ้าน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของชีวิต อาหารขอได้ น้ำขอได้ ยารักษาฟรีได้ แต่บ้านฟรี ไม่เคยมีให้ การมีบ้านหรือไม่ ถือเป็นเรื่องสำคัญในความมั่นคงของชีวิต แม้เราจะขออาศัยอยู่บ้านคนอื่นได้ แต่มันคงไม่ยั่งยืนและน่าภูมิใจครับ บ้านฟรีนั้นไม่มี เวลาเราอาศัยอยู่ในบ้านใคร เราก็ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้เขา ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่ว่าบ้านพ่อแม่ บ้านเสี่ย วัด โรงแรม โรงพยาบาล อพาร์ทเมนท์ คอนโด บ้านเช่า บ้านพักสวัสดิการ ทาวน์เฮาส์ แม้แต่ไปนั่งเล่นในบ้านเค้า เช่น โรงหนัง ร้านกาแฟ ห้างสรรพสินค้า ดังนั้น การมีบ้านที่ดี ที่ทำให้เราชอบอยู่บ้าน เราจะประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ต้องจ่ายให้กับการไปใช้บ้านคนอื่นได้มากเลยทีเดียว ถ้าเราประหยัดเงินค่าบ้านได้ เราจะไปจ่ายเงินนอกบ้านแทน บ้านดีนั้น ดูอย่างไร ผมชอบไปดูโครงการอสังหา โดยเฉพาะคอนโด เพราะไม่ร้อน ไม่ไกล แอร์เย็น และ เซลสวยกว่า โดยเฉพาะถ้าราคาตารางเมตรละ 100,000 ขึ้นไป จากประสบการณ์ที่เริ่มจากไม่รู้จะดูยังไง ตอนนี้ ไม่ยากแล้วครับ เริ่มจากทำเลก่อนครับว่า “เราเอง” พอใจมั้ย เพราะถ้าเราพอใจ อย่างน้อยเวลาปล่อยเช่าไม่ได้ (ซึ่งมักเป็นอย

Roll over effect

เคยสงสัยมั้ยครับว่า ทำไมคนที่รวยที่สุดในการจัดอันดับเศรษฐี ไม่เคยมี trader ปะปนอยู่เลย ถ้าจะมีก็เป็นช่วงใดช่วงหนึ่ง หลังจากนั้นก็ดูเหมือนว่า เขาจะหายหน้าหายตาไป ผมเองก็สงสัยครับ แล้วก็ไม่ทราบว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อันที่จริง ถ้าเราว่ากันตามระบบเหตุผล การเป็น trader มันเหมือนจะเป็นอะไรที่ดีมาก เพราะไม่ต้องอาศัยเงินทุนมาก สามารถใช้ leverage ได้ กำไรวิ่งก็ปล่อยไป ขาดทุนก็ตัดขาดทุน มันเป็นอะไรที่ “ง่าย” “เร็ว” “ดี” ถ้าถามผมว่า อะไรที่ทำให้นักลงทุนมีผลงานที่ดีกว่า ในระยะยาว ผมจะตอบว่า เพราะนักลงทุนมีตัวช่วยครับ นักลงทุนมีตัวช่วยพิเศษอย่างไรบ้าง เรามาลองดูกันได้เลย ตัวช่วยแรกที่ผมชอบใช้ เรียกว่า No time frame effect ซึ่งผมแปลเอาเองว่า “การเข้าแข่งที่กรรมการเข้าข้าง” จะดีมั้ยครับถ้าเวลาเราเชียร์ฟุตบอล ถ้าทีมที่เราเชียร์แพ้อยู่ เวลาการแข่งขันจะเดินไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่ทีมของเรายิงประตูนำไปได้ ผู้ตัดสินจะเป่านกหวีดให้หมดเวลาทันที No time frame ของนักลงทุน คล้ายๆไม่ขายขาดทุนก็ไม่ขาดทุน ขายตอนกำไร 100% ก็ได้กำไร 100% (จิงมะ) ซึ่งจะทำให้เราลดงานของการที่ต้องมากะเก็งช่

ภารกิจ ตามหาหุ้นถูก ที่อาจจะดี

ถ้าใครมาถามผมว่าเราต้องใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าที่เราจะรวย คำตอบของผมคือ ถ้าพรุ่งนี้รวยได้ก็รวยได้เลย ถ้าเราไม่เปิดใจคิดว่า เพียงแค่วันพรุ่งนี้แค่วันเดียว ก็สามารถเปลี่ยนชีวิตของเราทั้งหมดไปได้ ใจของเราจะไม่เปิดโอกาสให้กับโอกาสอันยิ่งใหญ่ ที่อาจจะเข้ามาหาเราเพียงแค่ในวันพรุ่งนี้ ทุกๆวันก่อนที่จะนอน ผมจะใช้เวลาทบทวนข้อมูลในการลงทุนในอดีตและปัจจุบัน เพื่อจะตอบคำถามที่ว่า “วันพรุ่งนี้มีโอกาสอะไรที่ให้เราคว้าได้บ้าง” จริงๆเรื่องดีๆหรือโอกาสดีๆในชีวิตนั้น อยู่ในชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้น ขึ้นอยู่ที่ว่า เราจะนำมาหยิบจับพลิกแพลง แก้ไข ให้พรุ่งนี้ มันกลายมาเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของเราได้อย่างไร การลงทุนแนววีไอนั้น จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก ผมอยากจะบอกความลับเด็ดให้กับบรรดาน้องใหม่ในวงการให้ทราบว่า “ของถูกและดี” ไม่มีในโลกครับ อย่าเสียเวลาหา ของถูกนั้นจะไม่ดี ของดีนั้นจะไม่ถูก ของถูกและดีนั้นจะมีเพียงในสถานการณ์เดียวคือ สภาวะที่คนส่วนใหญ่ขาดสภาพคล่องมาลงทุน ทั้งที่รู้ว่าถูก ทั้งที่รู้ว่าดี แต่ทำไงได้ “ไม่มีเงินซื้อ” ในสภาวะปัจจุบันที่แบงค์กงเต๊กในรูปดอลล่าร์ เยน ยูโร อ

ความเหมือนกันระหว่าง Investor กับ Trader

วันนี้ผมได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ของ Trader ที่ประสบความสำเร็จ (ขอไม่บอกชื่อหนังสือแล้วกันนะครับ เดี๋ยวจะหาว่าเชียร์) บทสัมภาษณ์นั้นน่าสนใจมาก เพราะผมนั้นไม่เคยคิดว่า Investor และ Trader จะมีอะไรที่คล้ายๆกันมากขนาดนี้ ความแตกต่างระหว่าง Investor กับ Trader นั้น “ชัดเจน” ในสายตาของผม ดังนั้น เมื่อผมอ่านหนังสือเล่มนี้ ผมจึงได้ทราบว่า “กฏ” หลายอย่างของ “ผู้ชนะ” ในการลงทุนไม่ว่าจะเป็นวิธีใดนั้น “คล้ายกัน” ผมขอจะหยิบมาเขียนแค่บางส่วน เป็นน้ำจิ้มของหนังสือที่หนาถึง 511 หน้า ที่มีสาระเข้มข้นทุกบรรทัด สิ่งแรกที่ควรจำคือ “อย่าฝืนตลาด” สำหรับ Trader นั้น ต้องเขียนไปแตะบนหน้าผาก หรือติดไว้หน้าจอเลยว่า “อย่าฝืนตลาด” ตลาดหุ้น ไม่ใช่ที่ๆแสดงผลลัพธ์ของราคาหุ้นตามหลักเหตุผลหรือความถูกต้อง หรือความคิดของเรา ถ้าคุณไม่เคารพการตัดสินของตลาด คุณจะถูก “ทำลายทิ้ง” อย่างรวดเร็ว สำหรับนักลงทุน เราก็ต้องเคารพตลาด แต่ตลาดของนักลงทุนจะหมายถึง อุปสงค์ของสินค้าหรือบริการที่บริษัทเราผลิต ถ้าตลาดของสิ่งนั้นยังไปได้ดี การลงทุนของเราก็จะไปได้ดีเช่นกัน กฏข้อต่อมา คือ ก่อนการลงทุนวางแผนไว้อย่

เชื้อสายเดิมของนักลงทุน

ทำไมทุกวันนี้ถึงได้มีนักลงทุนหน้าใหม่ๆ เข้ามาในตลาดมาก อาจเป็นเพราะว่า คำว่านักลงทุนเป็นคำที่ดูดีมักๆ สามารถสื่อเป็นนัยยะเล็กๆถึงความรวย ความเท่ ฉลาด และมองการณ์ไกล ของผู้ที่ได้เป็น อย่างไรก็ตาม การลงทุน นั้นอาจไม่ใช่อาชีพหลัก ใครหลายคนจึงอาจจะติดนิสัยจากพื้นเพเชื้อสายจากต้นตระกูลเดิมหรืองานที่เคยทำอยู่ วันนี้ เรามาดูกันว่า เชื้อสายชาติตระกูลดั้งเดิมหรืองานเดิมของคนที่ผันตัวเองมาเป็นสิ่งที่เรียกว่านักลงทุน แท้จริงแล้ว คนเหล่านี้ ยังแอบไปประกอบอาชีพแบบใด หรือเป็นใครที่แฝงตัวกันมาบ้าง แบบแรก นักลงทุนแบบ ชาวไร่ นักลงทุนกลุ่มนี้เขาจะยังไม่ซื้อหุ้นหากราคาหุ้นยังไม่เริ่มขยับ ตัวกระตุ้นในการเข้าซื้อ หรือส่วนที่เขาต้อง Monitor เขาจะไปดูจาก Top gainer, Top loser และ Most active turn over ในแต่ละวัน หรือบางคน อาจเป็นรายชั่วโมง ที่ใดมีความเคลื่อนไหว เขาจะตามไปที่นั่น “ ยิ่งขึ้น ยิ่งซื้อ ” คือคติประจำใจ ถ้าวันไหนตลาดหุ้นคึกคัก เรามักจะเจอพวกเขาผสมโรงเสมอ เวลาจะซื้อก็ต้องไล่ซื้อที่ราคา offer เหมาทีเดียวไปสี่ห้าแถบ ชาวไร่คนที่หนึ่ง ก็จะกระตุ้นการซื้อของชาวไร่ คนถัดไปเรื่อยๆ ราคาหุ้นเราก

คุณเคยตายมาแล้วกี่ครั้ง

Live Die Repeat คุณเคยผ่านวิกฤตมาแล้วกี่ครั้ง ? คำนี้เป็นคำถามที่ผมมักถามคนที่มาถามคำถามเกี่ยวกับการลงทุน ก่อนที่จะตอบ ไม่ใช่เพราะผมจะดูแคลนว่าเขามีความรู้น้อยหรือมีประสบการณ์น้อย แต่เป็นเพราะผมอยากทราบสภาวะจิตใจของเขาในตอนนั้น ว่าสามารถรับมือกับความกดดันในภาวะวิกฤตได้ดีเพียงใด ก่อนที่จะให้คำแนะนำการลงทุนที่ดี ที่จะสอดคล้องกับสภาวะจิตใจของเขา เพื่อผมจะได้เข้าใจประสบการณ์ในสมองของผู้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้ผมสามารถเลือกคำตอบที่เหมาะสมได้ดีขึ้น แต่คนถูกถามมักจะไม่ชอบเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผมถามคนที่ได้กำไรหุ้นที่เริ่มลงทุนตั้งแต่หลังปี 2008 เป็นต้นมา การลงทุนนั้นเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการประสบกับภาวะวิกฤตได้ ถ้าเราพยายามหลีกเลี่ยงมันมากเกินไป เราจะพบกับต้นทุนแฝงที่เพิ่มขึ้นมากมาย เช่น ค่าเสียโอกาสจากการไม่ลงทุน ค่าธรรมเนียมการซื้อๆขายๆ ค่าการป้องกันความเสี่ยง เป็นต้น ดังนั้น วอร์แรน บัฟเฟต จึงกล่าวไว้ว่า เขาจะไม่เลือกเดินเรือเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะวิกฤต แต่จะเลือกเรือที่มีความแข็งแกร่งพอ ที่จะสามารถฝ่าวิกฤตไปได้แทน การหลีกเลี่ยงวิกฤตเศรษฐกิจนั้น ถ้าเรามองจากบุคคลภายนอกนั้น ดูเหมือน

รวย รวย รวย

รวย รวย รวย วันหยุดเสาร์อาทิตย์หรือเวลาที่ว่าง ผมมักจะเข้าไปเดินเล่นในร้านหนังสือ หนังสือที่ขายดีติดอันดับในช่วงนี้มักจะต้องมีคำว่า หุ้น อสังหา ง่าย รวย ประสบความสำเร็จ ความรัก หรือไม่ก็ ความสุข อยู่บนปก คงเดากันออกว่า คนในปัจจุบันนี้ต้องการอะไรกันมากเป็นพิเศษ มากจนทำให้หนังสือเหล่านี้กลายเป็นหนังสือที่ติดอันดับหนังสือขายดี ความรวยเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ห้าของคนยุคนี้ไปแล้ว การไม่รวยนั้นเดี๋ยวนี้มีความผิด เขาหาว่าเป็นพวกไม่ดิ้นรน ดังนั้นหลายคนก็พยายามอย่างมากและง่วนอยู่กับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรวย ซึ่งผมจะขอแบ่งกิจกรรมความรวยเหล่านี้ออกเป็นสองกลุ่มคือ 1.กิจกรรมที่ทำให้ตัวเองรวยขึ้น และ 2.กิจกรรมการแสดงออกว่ารวย ในเมื่อสังคมเปลี่ยนไปยกย่องนับถือบุคคลผู้ที่มีความร่ำรวย คนในสังคมก็เลยต้องปรับตัวเพื่อทำให้ตัวเองได้รับการยอมรับนับถือทั้งจากตนเองและคนในสังคมโดยการทำให้ตัวเองรวยขึ้น การมีตำแหน่งใหญ่โตไม่ได้เป็นการประกันว่าจะมีใครมาเคารพนับถือเท่ากับการมีเงิน ดังนั้น เราจึงพบว่า คนที่มีตำแหน่งใหญ่โตทั้งหลาย พยายามใช้ตำแหน่งและความรับผิดชอบเหล่านั้น มาหาเงิน เพราะเงินคือสิ่งที่คน

วิธีสร้างทีมเพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน

ถ้าจะเปรียบเรื่องการลงทุนให้เหมือนกับเกมกีฬา การลงทุนนั้นเราอาจจะจัดสรรเงินลงทุนของเราให้เป็นเกมที่มีผู้เล่นคนเดียวหรือเกมที่มีผู้เล่นหลายคนเล่นร่วมกันเป็นทีมก็ได้ ถ้าเรามีผู้เล่นที่เก่งมากและไว้ใจได้อยู่เพียงหนึ่งคน เราก็อาจจัดสรรเงินลงทุนไปให้กับผู้เล่นคนนี้คนเดียวไปเลย แต่ในสถานะการณ์โดยส่วนใหญ่นั้นไม่ใช่ การลงทุนนั้นมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนโดยธรรมชาติ การพึ่งพาหรือฝากอนาคตไว้กับฝีมือของผู้เล่นเพียงคนเดียวนั้น อาจจะทำให้เงินลงทุนของเราตกอยู่ในสถานะของการต้องแบกรับความเสี่ยงที่มากเกินไป การสร้างพอร์ทการลงทุนขึ้นมาเป็นทีมคล้ายๆกับทีมฟุตบอล จะสามารถให้การลงทุนของเรามีความลื่นไหล ปรับตัวได้ ทั้งในสภาวะตลาดที่ดีหรือไม่ดี การสร้างทีมการลงทุนเป็นเรื่องห นึ่งที่ทำความเข้าใจและนำไปปฏิบ ัติกันได้ยาก ผมคิดว่าคงเป็นความรู้ขั้นกลางไ ม่ใช่ขั้นต้น แต่เพื่อที่จะทำความเข้าใจได้ง่ ายขึ้น ขอให้ลองจินตนาการว่าตัวเองเป็นผู้จั ดการทีมฟุตบอลหรือโค้ช ไม่ใช่ผู้เล่น และจะไม่ลงไปเล่นด้วยตนเอง การบริหารทีมฟุตบอลที่ดีไม่ใช่แ ค่การมีเงิน ถ้าเรามีเงินไปซื้อแต่นักแตะที่เก่งแต่บุก พอตอนโดนโต้กลับก็จะทำให้เสีย