บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2016

GDP คืออะไร

GDP คืออะไร GDP เป็นตัวย่อของคำว่า Gross Domestic Product ซึ่งหมายถึง "มูลค่า" ของสินค้าและบริการ "ขั้นสุดท้าย" ที่ "ผลิต" ขึ้น ในช่วงเวลาที่กำหนด (1ปี) รัฐบาล และ ภาคการเงิน จะให้ความสำคัญต่อตัวเลขนี้มาก เพราะข้อมูลนี้ จะนำไปสู่การกำหนดนโยบายแก่หน่วยปฏิบัติที่อยู่ในส่วนล่าง (Top Down decision) ในขณะที่หน่วยผลิตซึ่งใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากกว่า อาจจะขอข้อมูลทางตรงจากผู้บริโภคได้ และอาจจะต้องใช้ชุดข้อมูลที่ต่างจากรัฐบาลและสถาบันการเงินในการตัดสินใจ มากกว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจหรือ GDP GDP วัดมูลค่าจากส่วนใดมารวมกันบ้าง? 1.การบริโภคภาคเอกชน (ครัวเรือน) 2.การลงทุนภาคเอกชน (การบริโภคของผู้ผลิต) 3.การใช้จ่ายของภาครัฐ (การลงทุนของรัฐ) 4.การส่งออก - การนำเข้า (การบริโภคโดยผู้อื่น) GDP = C + I + G + (X - M) C = domestic Consumption  I = Invest by private sector G = Government spending X-M = Export - Import GDP ไม่ได้นับรวมอะไรบ้าง? 1.การผลิตเพื่อบริโภคเอง (เช่นปลูกผักกินเอง) 2.เงินโอน (เช่น การโอนเงินระหว่างบัญชี, เงินในบัญชี) 3.สินค้าขั้นกลาง (in...

ระบบในทางเศรษฐกิจ

ระบบในทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจก็เปรียบเสมือนร่างกายมนุษย์ ที่ประกอบด้วยส่วนประกอบย่อยต่างๆมากมาย ส่วนประกอบย่อยนั้นถูกเรียกว่า "หน่วยทางเศรษฐกิจ" ซึ่งหน่วยทางเศรษฐกิจนี้จำเป็นที่จะต้องมีประสิทธิภาพในตัวมันเอง และยังต้องทำงานสอดคล้องประสานกันอย่างดีด้วย เศรษฐกิจในภาพรวม จึงจะดำเนินไปได้ด้วยดี ระบบเศรษฐกิจนั้น แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆได้แก่ 1.กลุ่มทรัพยากรการผลิต 2.กลุ่มการเงิน 3.กลุ่มบริโภค 4.กลุ่มผู้ผลิต (สินค้าและบริการ) วัฏจักรทางเศรษฐกิจจะเริ่มจาก ความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิต ผลิตสินค้าออกมาจากกลุ่มทรัพยากรที่มีอยู่ โดยมีภาคการเงินเป็นทั้งตัวกลาง และผู้สนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ความต้องการของผู้บริโภค ได้รับการตอบสนอง ผู้เล่นทั้งสี่คนจะทำการพบปะแลกเปลี่ยนกันใน "ตลาด" เช่น ตลาดวัตถุดิบ ตลาดการเงิน ตลาดของสินค้า ตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ การมีระบบตลาดที่มีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้เกิดการประสานงานทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี เศรษฐกิจมักจะถูกนับในเชิงปริมาณมากกว่าในเชิงคุณภาพ สาเหตุเพราะสามารถทำได้ง่ายกว่า และสามารถสร้างแบบจำลองทางเศรษฐกิจได้ง...

ความรู้เบื้องต้นสำหรับการลงทุนในทองคำ

ความรู้เบื้องต้นสำหรับการลงทุนในทองคำ ทองคำเป็นโลหะที่มนุษย์ให้ราคาสูงกว่าแร่ธาตุอื่นๆมาตั้งแต่สมัยโบราณ อาจจะเป็นเพราะความหายาก ความสวยงาม การที่ไม่เปลี่ยนคุณสมบัติตามเวลา สามารถขึ้นรูปได้หลากหลายรูปแบบ ฯลฯ เงินตรา (Currency) นั้น มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะไปตามแต่ละยุคสมัย แต่ทองคำ ยังมีสถานะเดิมอยู่ในอารยธรรมของมนุษย์ ในฐานะโลหะมีค่า ที่สามารถให้ความสวยงาม คงทน และยังสามารถใช้แสดงฐานะทางสังคม ฯลฯ เนื่องจากทองคำมีลักษณะการด้อยค่าตามเวลา (depreciation) ที่ต่ำมาก มันจึงเหมาะที่จะถือไว้เป็นจำนวนมากในช่วงที่สินทรัพย์อื่นๆ เช่นหุ้น ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ มีราคาลดลงแรง (depreciation) ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ข้อดีอันนี้ ก็คือข้อเสียของทองคำเช่นกัน คือมันเพิ่มค่าในตัวมันเองได้น้อยมาก ทองคำนั้นไม่แบ่งตัว ไม่ออกลูก ไม่ปันผล ไม่จ้างงาน ไม่ได้ค่าเช่า ฯลฯ สมมุติว่าเรามีสิ่งที่มีค่าเพิ่มขึ้น แต่เราคิดว่ามันน่าจะเพิ่มขึ้นชั่วคราว เช่น สินค้าที่ขายอยู่อาจจะหมดความนิยมในอนาคต เราอาจจะแบ่งความมั่งคั่งส่วนหนึ่งของเรามาถือสินทรัพย์ที่ไม่ด้อยค่าลงพร้อมๆกัน (เช่นทองคำ) ไว้บ้าง จะได้มีทุน สำหรับการเ...