ระบบในทางเศรษฐกิจ
ระบบในทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจก็เปรียบเสมือนร่างกายมนุษย์ ที่ประกอบด้วยส่วนประกอบย่อยต่างๆมากมาย ส่วนประกอบย่อยนั้นถูกเรียกว่า "หน่วยทางเศรษฐกิจ" ซึ่งหน่วยทางเศรษฐกิจนี้จำเป็นที่จะต้องมีประสิทธิภาพในตัวมันเอง และยังต้องทำงานสอดคล้องประสานกันอย่างดีด้วย เศรษฐกิจในภาพรวม จึงจะดำเนินไปได้ด้วยดี
ระบบเศรษฐกิจนั้น แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆได้แก่
1.กลุ่มทรัพยากรการผลิต
2.กลุ่มการเงิน
3.กลุ่มบริโภค
4.กลุ่มผู้ผลิต (สินค้าและบริการ)
วัฏจักรทางเศรษฐกิจจะเริ่มจาก ความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิต ผลิตสินค้าออกมาจากกลุ่มทรัพยากรที่มีอยู่ โดยมีภาคการเงินเป็นทั้งตัวกลาง และผู้สนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ความต้องการของผู้บริโภค ได้รับการตอบสนอง
ผู้เล่นทั้งสี่คนจะทำการพบปะแลกเปลี่ยนกันใน "ตลาด" เช่น ตลาดวัตถุดิบ ตลาดการเงิน ตลาดของสินค้า ตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ
การมีระบบตลาดที่มีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้เกิดการประสานงานทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
เศรษฐกิจมักจะถูกนับในเชิงปริมาณมากกว่าในเชิงคุณภาพ สาเหตุเพราะสามารถทำได้ง่ายกว่า และสามารถสร้างแบบจำลองทางเศรษฐกิจได้ง่ายกว่า แต่บ่อยครั้งเรามักจะพบว่าปริมาณกับคุณภาพมักจะไม่ไปด้วยกัน และความต้องการของผู้บริโภคในหน่วยย่อย ยังไม่ได้รับการตอบสนองอย่างแท้จริง
ในการตัดสินใจทางธุรกิจ เราไม่ควรจะยึดโยงกับตัวเลขทางเศรษฐกิจในภาพรวม แต่ควรจะยึดกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคเป้าหมาย ซึ่งเป็นผู้ชี้ขาดที่แท้จริงต่อการผลิตสินค้าและบริการ
การลงทุนก็เช่นเดียวกัน
เศรษฐกิจก็เปรียบเสมือนร่างกายมนุษย์ ที่ประกอบด้วยส่วนประกอบย่อยต่างๆมากมาย ส่วนประกอบย่อยนั้นถูกเรียกว่า "หน่วยทางเศรษฐกิจ" ซึ่งหน่วยทางเศรษฐกิจนี้จำเป็นที่จะต้องมีประสิทธิภาพในตัวมันเอง และยังต้องทำงานสอดคล้องประสานกันอย่างดีด้วย เศรษฐกิจในภาพรวม จึงจะดำเนินไปได้ด้วยดี
ระบบเศรษฐกิจนั้น แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆได้แก่
1.กลุ่มทรัพยากรการผลิต
2.กลุ่มการเงิน
3.กลุ่มบริโภค
4.กลุ่มผู้ผลิต (สินค้าและบริการ)
วัฏจักรทางเศรษฐกิจจะเริ่มจาก ความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิต ผลิตสินค้าออกมาจากกลุ่มทรัพยากรที่มีอยู่ โดยมีภาคการเงินเป็นทั้งตัวกลาง และผู้สนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ความต้องการของผู้บริโภค ได้รับการตอบสนอง
ผู้เล่นทั้งสี่คนจะทำการพบปะแลกเปลี่ยนกันใน "ตลาด" เช่น ตลาดวัตถุดิบ ตลาดการเงิน ตลาดของสินค้า ตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ
การมีระบบตลาดที่มีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้เกิดการประสานงานทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
เศรษฐกิจมักจะถูกนับในเชิงปริมาณมากกว่าในเชิงคุณภาพ สาเหตุเพราะสามารถทำได้ง่ายกว่า และสามารถสร้างแบบจำลองทางเศรษฐกิจได้ง่ายกว่า แต่บ่อยครั้งเรามักจะพบว่าปริมาณกับคุณภาพมักจะไม่ไปด้วยกัน และความต้องการของผู้บริโภคในหน่วยย่อย ยังไม่ได้รับการตอบสนองอย่างแท้จริง
ในการตัดสินใจทางธุรกิจ เราไม่ควรจะยึดโยงกับตัวเลขทางเศรษฐกิจในภาพรวม แต่ควรจะยึดกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคเป้าหมาย ซึ่งเป็นผู้ชี้ขาดที่แท้จริงต่อการผลิตสินค้าและบริการ
การลงทุนก็เช่นเดียวกัน
ความคิดเห็น