บทความ

สู้มาหมดทุกทาง แต่ทำไมเราจึงยังอยู่ที่เดิม

 ความสำเร็จใดๆในโลกของเรา มีอยู่ 2 เส้นทาง คือทางธรรมดา  และทางด่วน ทางธรรมดาคือทางที่ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ เพราะว่าคนทุกคนมีสิทธิที่จะใช้ มันจึงติดขัด  มันจึงหนาแน่น บริการจึงไม่ดี  มันจึงทำให้คุณสำเร็จช้า ทางด่วน คือทางที่จะทำให้คุณสำเร็จเร็ว บนทางด่วน  เราไม่สามารถให้รถทุกคันขึ้นไปวิ่งบนนั้นได้ ถ้ารถทุกคันพากันขึ้นไปวิ่งบนทางด่วน  ทางด่วนก็จะติดขัด หนาแน่น บริการไม่ดี และถึงที่หมายช้า... เหมือนเดิม สู้มาหมดทุกทาง แต่ทำไมเราจึงยังยืนอยู่ที่เดิม คำตอบคือ ทางทุกทางที่คุณสู้มา มันคือทางธรรมดา  มันไม่ใช่ทางด่วน เข้าใจตรงกันนะ

ข้อดีภาษีจากการขายหุ้น

  ข้อดีภาษีจากการขายหุ้น 1.ช่วยลด asset turnover ทำให้นักลงทุนเห็นมูลค่าการซื้อขายที่แท้จริงมากขึ้น 2.สภาพคล่องลดลง ทำให้หุ้นเล็กหุ้นปั่นออกยากขึ้น หรือ corner ได้ง่ายขึ้น ถ้าใจถึง 3.เป็นการบอกคร่าวๆว่าเงินร้อนไปที่อื่น เราต้องการคนเงินเย็น และ FDI 4.สถาบันได้เปรียบรายย่อย เห็นว่าจะมีการยกเว้น 5.คงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเทรด เพิ่ม specificity ลด sensitivity ไม่แน่ใจว่าคนที่ซื้อขาย options และ ใช้วงเงิน margin จะโดนภาษีตาม leverage ที่ใช้ด้วยไหม ถ้ายิ่งใช้ leverage ก็ยิ่งโดนภาษี? รายใหญ่ กับ VI เงินเย็น ยิ่งได้เปรียบ รายย่อย = ควรปรับตัว นะ

แบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนที่เหมาะสม (Suitability Test)

การทำแบบประเมินระดับความเสี่ยงฉบับนี้ เพื่อให้ท่านทราบระดับความเสี่ยงการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวท่านเอง โดยท่านจะต้องตอบคำถามโดยเลือกคำตอบที่เข้ากับสถานการณ์การลงทุนและข้อมูลของท่านให้มากที่สุด จดคำตอบของท่านไว้ เพื่อรวมคะแนนในขั้นตอนถัดไป 1.มูลค่าเงินออมและหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ท่านมีไว้เพื่อลงทุน (1) ต่ำกว่า 1 ล้านบาท      (2) 1 - 3 ล้านบาท     (3) สูงกว่า 3 ล้านบาท 2.สัดส่วนเงินออมและหลักทรัพย์ที่มีไว้เพื่อลงทุน (ตามข้อ 1) เมื่อเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดของท่าน (1) มากกว่าร้อยละ 60      (2) ร้อยละ 30-60       (3) ร้อยละ 10-30      (4) ต่ำกว่าร้อยละ 10 3.ประสบการณ์การลงทุนในหลักทรัพย์ของท่าน (หลักทรัพย์หมายถึง พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้หุ้น กองทุนรวม หรือ ตราสารอนุพันธ์) (1) ยังไม่มีประสบการณ์   (2) น้อยกว่า 1 ปี         (3) 1-5 ปี                 (4) มากกว่า 5 ปี 4.ท่านต้องการรายได้จากเงินลงทุนในส่วนนี้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประจำหรือไม่ ...

การประยุกต์ใช้ความสามารถทางการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์

จากทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ เราจะเห็นได้ว่า "เงิน" มีบทบาทที่สำคัญหลายประการในการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ในลำดับแรก เงินมีความสำคัญในการซื้อหาปัจจัยสี่ที่ดีเพื่อการดำรงชีวิต เราต้องการเงิน เพื่อการมีบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่สะอาด ปลอดภัย มั่นคงถาวร เพื่อการพักผ่อนที่ดีมีคุณภาพ ต้องการเงินเพื่อหาซื้ออาหาร น้ำดื่ม เครื่องนุ่งห่ม และการรักษาโรค เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของตนเอง และสมาชิกในครอบครัว เงินมีความจำเป็นมากขึ้นในปัจจุบัน เพื่อซื้อหาในสิ่งที่เราไม่สามารถผลิตเองในครัวเรือนของเราได้ ในปัจจุบัน การผลิตทุกอย่างเพื่อใช้เองในครัวเรือน ถูกทดแทนด้วยการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม เงินจึงถูกใช้เพื่อเป็นตัวกลางในการกระจายปัจจัยสี่ และสินค้าทั้งหลายไปสู่ครัวเรือนต่างๆ การมีเงินออมที่มากขึ้น ก็ย่อมที่จะเพิ่มความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ในการดำรงชีวิตที่มากขึ้น จะเห็นได้ว่า เงินมีความจำเป็นมาก ในการตอบสนองความต้องการในขั้นที่หนึ่งและสองของมนุษย์ ความต้องการในขั้นถัดมา คือความต้องการให้คนอื่นมารัก และถูกเป็นเจ้าของโดยผู้อื่น ในขั้นนี้ เงินเริ่มมีบทบาทที่น้อยลง กลายเป็น ...

ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์ (Maslow's hierarchy of needs)

ความต้องการของมนุษย์มีมากมายหลายด้าน และมนุษย์อยากให้ความต้องการของตนเองได้รับการตอบสนอง มาสโลว์ (1) เป็นนักจิตวิทยาที่ได้ทำการศึกษาเรื่องความต้องการของมนุษย์ และได้อธิบายออกมาเป็นทฤษฎีของเขาที่เรียกว่า ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ โดยเขาพบว่า ในบรรดาความต้องการทั้งหลายของมนุษย์นั้น แบ่งหมวดหมู่ออกได้เป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีความต้องการเป็นลำดับขั้น เริ่มจาก 1.ความต้องการทางด้านสรีรวิทยาเพื่อความอยู่รอดของชีวิต (Basic Physiological Need)  คือความต้องการปัจจัยทางชีวภาพ เพื่อความอยู่รอดของชีวิต หากเราขาดสิ่งเหล่านี้ เราจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ เมื่อเราอยู่ในสถานการณ์ที่ขาดสิ่งเหล่านี้ ร่างกายก็จะกระตุ้นระบบการเอาชีวิตรอดให้เราเสาะหาสิ่งเหล่านี้มาเติมให้เติม เป็นเบื้องต้น ความต้องการเหล่านี้ได้แก่ อากาศ (หรืออ๊อกซิเจน) น้ำ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม (เพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่) การพักผ่อน การขับถ่ายของเสีย ความต้องการเหล่านี้ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่เท่ากัน เช่น อากาศหายใจมีความจำเป็นเร่งด่วนมากกว่าน้ำ น้ำมีความจำเป็นเร่งด่วนมากกว่าอาหาร การพักผ่อนเราก็สามารถ...

GDP คืออะไร

GDP คืออะไร GDP เป็นตัวย่อของคำว่า Gross Domestic Product ซึ่งหมายถึง "มูลค่า" ของสินค้าและบริการ "ขั้นสุดท้าย" ที่ "ผลิต" ขึ้น ในช่วงเวลาที่กำหนด (1ปี) รัฐบาล และ ภาคการเงิน จะให้ความสำคัญต่อตัวเลขนี้มาก เพราะข้อมูลนี้ จะนำไปสู่การกำหนดนโยบายแก่หน่วยปฏิบัติที่อยู่ในส่วนล่าง (Top Down decision) ในขณะที่หน่วยผลิตซึ่งใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากกว่า อาจจะขอข้อมูลทางตรงจากผู้บริโภคได้ และอาจจะต้องใช้ชุดข้อมูลที่ต่างจากรัฐบาลและสถาบันการเงินในการตัดสินใจ มากกว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจหรือ GDP GDP วัดมูลค่าจากส่วนใดมารวมกันบ้าง? 1.การบริโภคภาคเอกชน (ครัวเรือน) 2.การลงทุนภาคเอกชน (การบริโภคของผู้ผลิต) 3.การใช้จ่ายของภาครัฐ (การลงทุนของรัฐ) 4.การส่งออก - การนำเข้า (การบริโภคโดยผู้อื่น) GDP = C + I + G + (X - M) C = domestic Consumption  I = Invest by private sector G = Government spending X-M = Export - Import GDP ไม่ได้นับรวมอะไรบ้าง? 1.การผลิตเพื่อบริโภคเอง (เช่นปลูกผักกินเอง) 2.เงินโอน (เช่น การโอนเงินระหว่างบัญชี, เงินในบัญชี) 3.สินค้าขั้นกลาง (in...

ระบบในทางเศรษฐกิจ

ระบบในทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจก็เปรียบเสมือนร่างกายมนุษย์ ที่ประกอบด้วยส่วนประกอบย่อยต่างๆมากมาย ส่วนประกอบย่อยนั้นถูกเรียกว่า "หน่วยทางเศรษฐกิจ" ซึ่งหน่วยทางเศรษฐกิจนี้จำเป็นที่จะต้องมีประสิทธิภาพในตัวมันเอง และยังต้องทำงานสอดคล้องประสานกันอย่างดีด้วย เศรษฐกิจในภาพรวม จึงจะดำเนินไปได้ด้วยดี ระบบเศรษฐกิจนั้น แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆได้แก่ 1.กลุ่มทรัพยากรการผลิต 2.กลุ่มการเงิน 3.กลุ่มบริโภค 4.กลุ่มผู้ผลิต (สินค้าและบริการ) วัฏจักรทางเศรษฐกิจจะเริ่มจาก ความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิต ผลิตสินค้าออกมาจากกลุ่มทรัพยากรที่มีอยู่ โดยมีภาคการเงินเป็นทั้งตัวกลาง และผู้สนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ความต้องการของผู้บริโภค ได้รับการตอบสนอง ผู้เล่นทั้งสี่คนจะทำการพบปะแลกเปลี่ยนกันใน "ตลาด" เช่น ตลาดวัตถุดิบ ตลาดการเงิน ตลาดของสินค้า ตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ การมีระบบตลาดที่มีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้เกิดการประสานงานทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี เศรษฐกิจมักจะถูกนับในเชิงปริมาณมากกว่าในเชิงคุณภาพ สาเหตุเพราะสามารถทำได้ง่ายกว่า และสามารถสร้างแบบจำลองทางเศรษฐกิจได้ง...