อำนาจซื้อ... ไม่ได้วัดกันที่เงินเพียงอย่างเดียวนะ


ในทางการตลาด เราสามารถแบ่งผู้บริโภคหรือ consumer ออกได้เป็นประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการจำแนก ทำความเข้าใจ และการออกแบบกลยุทธ์ ทั้งหมดเพื่อให้เกิดการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และการได้มาซึ่งยอดขายของลูกค้าในกลุ่มที่บริษัทของเราต้องการ

วิธีการง่ายๆอย่างหนึ่งในการใช้จำแนกกลุ่มลูกค้าออกเป็นประเภทต่างๆ คือการจำแนกโดยการอาศัย “รายได้” ของผู้บริโภค ออกเป็นกลุ่มต่างๆ เช่นตั้งแต่ สูงมาก สูง ปานกลาง ปานกลางค่อนต่ำ และ รายได้ต่ำ ซึ่งนักการตลาดพบว่า การจำแนกผู้บริโภคตามฐานรายได้ ก็ช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่มได้ดีขึ้น

ปัจจัยอย่างหนึ่งที่นักการตลาดไม่ค่อยได้เอามาคิดคำนึงถึงว่าเป็นอำนาจซื้อเหมือนกัน นั่นก็คือ “เวลา”

ทำไมเวลาจึงเป็นข้อมูลอันสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาควบคู่ด้วยกันไปเสมอในการจัดกลุ่มของอำนาจซื้อของผู้บริโภค มาลองดูกันต่อกันในรายละเอียดเลยครับ

การพิจารณา “อำนาจซื้อ” ด้วยการพิจารณาในฐานของ “รายได้และเวลา” ควบคู่กัน จะแบ่งคนหรือผู้บริโภคออกเป็นกลุ่ม สี่กลุ่ม ดังต่อไปนี้

กลุ่มแรก มีเงินน้อย มีเวลาน้อย
กลุ่มนี้ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มลูกจ้างรายวัน ผู้ใช้แรงงาน

กลุ่มที่สอง มีเวลามาก มีเงินน้อย
เช่น นักเรียน นักศึกษา เด็กเล็ก คนชราที่ฐานะไม่ดี

กลุ่มที่สาม มีเงินมาก มีเวลาน้อย
ได้แก่ มนุษย์เงินเดือน ลูกจ้างประจำ

กลุ่มสุดท้าย มีทั้งเงินและเวลา
เช่น เศรษฐี และกลุ่ม rich retired

สินค้าและบริการต่างๆก็จะอาศัยองค์ประกอบของส่วนประสมของอำนาจซื้อทั้งสองอย่างที่ไม่เท่ากัน

ยกตัวอย่างเช่น หนังสือ ทีวี หนัง การ์ตูน จะเหมาะกับกลุ่มที่มีเวลามาก รายได้น้อย

รถยนต์นั่งส่วนบุคคล จะเหมาะกับ คนที่มีเงินมาก แต่เวลาน้อย 

โรงแรม สายการบิน จะเหมาะกับ คนที่มีทั้งเงินมากและเวลามาก

สินค้าราคาถูก ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน จะเหมาะกับคนที่มีทั้งเงินและเวลาน้อย

ทีนี้สมมุติว่า เราจะลงทุนในบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เช่น 7-11
เราก็จะต้องประเมินดูว่าบริษัทนี้จะใหญ่โตไปได้เท่าไหร่ โดยการดูว่า “ใคร” สามารถจะมีอำนาจซื้อในผลิตภัณฑ์ของบริษัทเราได้บ้าง

คนรายได้น้อย เวลาน้อย ก็เข้าเซเว่นได้
คนรายได้น้อย เวลามาก ก็ไปซื้อ แล้วมานั่งเม้าท์อยู่หน้าเซเว่นได้
คนรายได้มาก เวลาน้อย ยิ่งชอบเซเว่น
คนรายได้มาก เวลามาก คงไม่เหมาะ 

ดังนั้นจะเห็นว่า เซเว่น-11 มีขนาดตลาดใหญ่มากเลยทีเดียว

มาดูบริษัทถัดไป ปตท.

คนรายได้น้อย เวลาน้อย ไม่ชอบ เดินเอาดีกว่าใช้รถ
คนรายได้น้อย เวลามาก ขอใช้ขนส่งมวลชนดีกว่า
คนรายได้มาก เวลาน้อย ชอบใช้รถส่วนตัวมาก
คนรายได้มาก เวลามาก ก็จำเป็นต้องใช้น้ำมันมาก

มองผิวเผินเหมือน ปตท. จะมีขนาดตลาดเล็กกว่า แต่เนื่องจาก ผู้มีรายได้น้อยก็ต้องบริโภคน้ำมันทางอ้อม ผ่านรถขนส่งมวลชน ค่าขนส่ง ค่าวัตถุดิบและค่าพลังงานในการผลิตที่แทรกเข้าไปในสินค้าอื่นเกือบทุกตัวอยู่ดี ทำให้ ปตท. เป็นบริษัทที่มีขนาดตลาดใหญ่มาก

บริษัทถัดไป ท่าอากาศยานไทย

คนรายได้น้อย เวลาน้อย นั่งรถทัวร์ไปก่อน
คนรายได้น้อย เวลามาก เที่ยวได้ เริ่มสามารถใช้ Low cost airline ได้
คนรายได้มาก เวลาน้อย ยิ่งชอบใช้เครื่องบิน
คนรายได้มาก เวลามาก บินจนได้บัตรทองกันไปเลย

ดังนั้น บริษัทท่าอากาศยานไทย จึงมีเปลี่ยนแปลง จากบริษัทที่มีขนาดตลาดเล็ก ไปสู่บริษัทที่มีขนาดตลาดใหญ่ขึ้น

วันนี้เอาตัวอย่างแค่หอมปากหอมคอแค่เพียงเท่านี้ก่อน

จะเห็นได้ว่า การพิจารณาอำนาจซื้อของผู้บริโภคจากทั้งจำนวนเงิน และเวลาไปด้วยกัน จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจผู้บริโภค และโอกาสทางการตลาดของบริษัทที่เรากำลังจะเข้าไปลงทุน

ลองพิจารณาเป็นรายบริษัท รายอุตสาหกรรมกันดูเลย


วิธีนี้ทำให้เรามองภาพชัดกันขึ้นกว่าเดิมกันเลยนะเนี่ย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ราคา คุณค่า กับ มูลค่า (Price, Value and Worth)

การลงทุนกับการเลี้ยงวัว

ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริง หรือ ข้อคิดเห็น (Information, Fact or Opinion)