Siam Paragon Index
Siam Paragon Index
หากจะกล่าวถึงดัชนีตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่นักเศรษฐศาสตร์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายต่างๆ คงจะหนีไม่พ้นตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เราคุ้นเคยอย่างเช่น GDP, อัตราการว่างงาน, ดัชนีผู้ผลิต, ดัชนีราคาผู้บริโภค, อัตราเงินเฟ้อ ฯลฯ
จากการที่ผมได้ยินได้ฟังและติดตามข้อมูลเหล่านี้มานานนับสิบปี ทำให้ผมต้องตั้งคำถามกับข้อมูลที่ได้ยินมาเหล่านี้ว่า มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ ของการเก็บรวบรวม วิธีการ กลุ่มประชากรที่ทำการสำรวจ การตีความ และรวมไปถึง การสามารถที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เพื่อการตัดสินใจในการลงทุน ว่าเราสามารถนำมันไปใช้ได้มากน้อยเพียงใด
ปัญหาที่ผมพบอยู่บ่อยๆก็คือว่า ตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ ไม่สามารถใช้เป็นตัวแปรเพื่อใช้ทำนายอนาคตที่แม่นยำได้เลย หากแต่เป็นตัวยืนยันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้วในอดีตได้ดีมากกว่า มันเหมาะกับการนำค่าตัวเลขเหล่านี้มาอ้างอิงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้ว มากกว่าที่จะเป็นตัวชี้วัดถึงเหตุการณ์ในอนาคต
ตัวอย่างเช่น ตัวเลข GDP ของไทยที่ออกมาต่ำในปีนี้ คือคำอธิบายหรือผลที่เกิดขึ้นจากภาวะชะงักงันทางการเมืองและเศรษฐกิจของเมื่อ 6 เดือนก่อน มากกว่าที่จะเป็นตัวทำนายถึงเหตุการณ์ในอนาคตเช่น ตัวเลขการจ้างงานหรือ GDP ของไทยในปีหน้า ที่เป็นเช่นนี้ผมคิดว่า ส่วนหนึ่ง น่าจะเป็นเพราะระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลเหล่านี้จนสิ้นสุด การนำไปวิเคราะห์ ประชุม และประกาศนั้น ทิ้งระยะเวลาห่างไปมาก จนข้อมูลเหล่านี้ ทันทีที่ประกาศ ก็กลายเป็นของที่ล้าสมัยไปแล้ว ดังนั้นจึงอย่าแปลกใจที่ว่า เมื่อมีการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจออกมาไม่ดี แต่ทำไมหุ้นจึงขึ้น มันไม่ควรจะไปด้วยกันหรอกหรือ? คำตอบของผมคือ "มันไปด้วยกัน” แต่ไปกันกับราคาหลักทรัพย์ในอดีต “เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว”
หากเราต้องการเป็นนักลงทุนที่สามารถลงทุนเพื่อชนะผลตอบแทนของตลาด เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะลงทุนแบบใช้แต่กระจกมองหลังอยู่แบบนี้ พอมีอะไรที่เราสามารถจะใช้เป็นตัวชี้วัดดัชนีทางเศรษฐกิจที่ “ง่าย” “สะดวก" “รวดเร็ว” “ถูกต้อง” และ “น่าเชื่อถือ”
วันนี้ ผมมีดัชนีทางเศรษฐกิจที่ผมใช้แล้วได้ผลมาฝากท่าน หนึ่งตัว ดัชนีนี้มีชื่อว่า “Siam Paragon Index”
“Siam Paragon Index” คืออะไร ต้องทำอย่างไร และเราสามารถนำไปใช้ได้อย่างไร ต้องติดตามในตอนต่อไปครับ
ความคิดเห็น