กฏ 10%


นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาลีผู้หนึ่ง ชื่อพาเรโต ได้เสนอข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า ความมั่งคั่งของประเทศอิตาลีในสมัยนั้น 80% ถูกถือครองด้วยคนเพียง 20%

https://en.wikipedia.org/?title=Vilfredo_Pareto

ปัญหาการกระจายรายได้หรือทรัพยากร ไม่ได้เพิ่งเกิดมาในสมัยปัจจุบัน เพียงแต่ในปัจจุบัน การเปิดเผยข้อมูลและการสื่อสารที่สะดวกง่ายดายขึ้น ทำให้เราเห็นสิ่งนี้ได้ชัดเจนขึ้น

ข้อสังเกตของพาเรโตในยุคนั้น ยังปรากฏให้เห็นในการศึกษาในเรื่องอื่นๆต่อมา ล้วนแต่แสดงให้เราเห็นว่า ทรัพยากรมีค่าทั้งหลายที่มีจำกัดนั้น มิได้มีการกระจายอย่างสมดุลกัน

ผมคิดว่าข้อเท็จจริงในเรื่องนี้คงจะสามารถพิสูจน์ได้ไม่ยาก ลองมาดูตัวอย่างดังนี้ดู โดยผมจะขอเปลี่ยนเป็นกฏ 10% เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 10% และ 90% ที่ว่านั้น เราลองมาคิดกันเล่นๆว่า จะนำไปใช้ในเรื่องอะไรได้บ้าง

เวลา 90% เราหมดไปกับหน้าที่ เพียง 10% ที่หมดไปกับสิ่งที่เรารัก

การทำสิ่งที่เรารัก กลายเป็นความสุข 90% ในชีวิต

เงิน 90% เราหมดไปกับสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ 10% ที่เหลือเป็นเงินลงทุน

90% ของความมั่งคั่งในตอนนี้ มาจากเงิน 10% ก้อนนั้น

คน 90% ที่เราพบ ต่อมากลายเป็นแค่คนรู้จัก เหลือ 10% เท่านั้นที่กลายมาเป็นเพื่อนเรา

เพื่อน 10% นั้น กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลต่อชีวิตเรา 90%


มาสมมุติดูในเรื่องของการลงทุนกันบ้าง


1.ถ้าตลาดหลักทรัพย์ไทยมีบัญชีรายย่อยอยู่ ราวๆ 90% แต่คนเหล่านั้นถือหุ้นอยู่เพียงราวๆ 10%

แต่ 10% ของหุ้นที่ถือโดยรายย่อย คือการเคลื่อนไหว 90% ของหุ้นที่มีการซื้อขายในแต่ละวัน 

หรือ หุ้นอีก 90% ที่ถือครองโดยคน 10% อาจไม่ได้ทำการซื้อขายในเวลาปกติ


2.ผลตอบแทน 90% ของการลงทุน อาจมาจากระยะเวลาถือครองเพียง 10% ของเวลาทั้งหมด 

หุ้นตัวหนึ่งที่ลงทุน 10% ของพอร์ต อาจเป็นผลตอบแทน 90% ของผลตอบแทนรวม


3.ยอดขาย 90% ที่ต้องทำคือเพื่อให้บริษัทเท่าทุน เพียง 10% ที่จะกลายเป็นกำไร กำไร 90% อาจเกิดขึ้นจากการขายเพียงช่วงเวลา 1 เดือน (10%)

หรือ ลูกค้า 10% อาจเป็นยอดขายถึง 90% คำชมของลูกค้า 90% อาจถูกกลบด้วยการตำหนิของคน 10%

4.ที่ดิน 90% ในประเทศไทยถูกถือครองด้วยคน 10% หรือคน 10% เสียภาษี 90% ของประเทศ

5.เมื่อคน 90% กำลังขายหุ้น 10% กำลังทำตรงข้าม คน 10% นั้นกลายเป็นเจ้าของความมั่งคั่ง 90% ในเวลาต่อมา

ฯลฯ

ข้อสังเกตข้างต้น บางอันก็เป็นความจริงบ้าง บางอันก็ต้องรอมาทำการพิสูจน์ แต่ผมคิดว่า การเป็นคนส่วนน้อยนั้น จะให้ผลบวกในเชิงเศรษฐศาสตร์มากกว่าการเป็นคนส่วนใหญ่ อย่างน้อยก็เพราะเราไม่ต้องไปแย่งกับใครมาในราคาแพง

ถ้าคิดอะไรไม่ออก 


นึกถึงกฏ 10% ไว้ครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ราคา คุณค่า กับ มูลค่า (Price, Value and Worth)

การลงทุนกับการเลี้ยงวัว

ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริง หรือ ข้อคิดเห็น (Information, Fact or Opinion)