งานกับเงิน


ปัจจุบันนี้มีคนตั้งข้อสงสัยมากขึ้นเรื่อยๆว่า คนที่ได้ปริญญาจบด้อกเตอร์ เรียนมาตั้งนานแต่กลับได้เงินเดือนรวยน้อยกว่าคนจบ .ปลายที่ทำธุรกิจบางคนซะอีก

โลกเรามีอะไร ผิดปกติเหรอ? อย่าเรียนมันซะเลยดีมะ

ปัญหาในข้อนี้ที่เกิดขึ้นเพราะโรงเรียนไม่ได้สอนเราเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง "งานกับเงิน" และคนส่วนใหญ่เชื่อว่า งานคือเงิน

"คนเราควรทำงาน เพื่อผลงาน" ไม่ใช่ทำงาน เพื่อเงิน ถ้าจะทำเงินแล้วละก็ อย่ายืดติดอยู่กับงาน ให้มุ่งไปที่การทำ "เงิน" เลยดีกว่า

งานบางงาน ผลงาน = เงิน ก็เป็นงานที่น่าทำ แต่เราต้องแน่ใจว่า เราเก่งจริง งานเราดี "ต่อผู้อื่น" จริง เขาก็จะจ่ายเราเท่ากับผลงาน นี่คืองานส่วนใหญ่

งานบางงาน ผลงานมาก ได้เงินน้อย

งานเหล่านี้อาจจะไม่ได้ผลตอบแทนในด้านการเงินเพียงอย่างเดียวก็ได้ คิดดูดีๆ เราเพียงแต่ต้องเพิ่มช่องทางการหารายได้อื่นเสริม

สุดท้าย งานบางงาน ทำน้อย ได้เงินเยอะ

งานประเภทนี้ ส่วนสำคัญมักอยู่ที่หลังฉาก หน้าฉาก คนเลยเห็นว่าไม่ต้องทำอะไร และที่สำคัญคือ "มักมีที่ว่างจำกัด"

หลายคนคิดว่า ความรู้ ตำรา และความฉลาดที่ตนเองมีอยู่ในงานและปริญญาสูงๆ จะสามารถใช้ผลิตความสำเร็จได้ในงานทุกสิ่ง

สิ่งนั้นอาจเป็นจริงในโลกอื่นๆ 

แต่ในโลกของการลงทุน นี่เป็นปัจจัยของความสำเร็จที่มาจากความรู้มีเพียง 40% ไม่เช่นนั้น คนเรียนบัญชี หรือ เศรษฐศาสตร์ คงรวยที่สุด

ไม่ใช่ว่าไม่ต้องมีความรู้ ก็ลงทุนได้ แต่คือ "ความรู้อย่างเดียว ไม่เพียงพอ" กับงานการลงทุน

ศัตรูสำคัญของความจริง คือ ความกลัว และ ความโลภ

ศัตรูสำคัญของผู้รู้ก็คือ ความกลัว และ ความโลภ

ศัตรูที่สำคัญของนักลงทุนก็คือ ความกลัว และ ความโลภ เช่นกัน

ที่ไหนมีความกลัว ที่นั่นไม่มีความจริง เพราะความกลัว จะเปิดระบบการคิดแบบเอาตัวรอด เปิดความคิดหาทางหนี เปิดความคิดที่จะขายหุ้นไปให้พ้น ตลอดเวลา

ที่ไหนมีความโลภทความโลภก็จะบังตา ไม่เห็นโทษภัยที่กำลังจะมาในเวลาข้างหน้า

ถึงฉลาดมาแค่ไหน งานเนี้ยบอย่างไร ก็จบ 

นั่นเป็นที่มาของความรู้มีสำคัญเพียง 40%แรก

ศัตรูตัวสำคัญของท่านไม่ใช่ใคร ไม่ใช่คณิตศาสตร์ชั้นสูง หรือนักเศรษฐศาสตร์ที่แสนเก่งที่ไหน แต่เป็น "อารมณ์" ที่ถูกฝังไว้ส่วนฐานสมองชั้นล่างของมนุษย์ ลึกลงไปกว่าส่วนที่ใช้เหตุผล

คนส่วนใหญ่นั้นใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความหวาดกลัว และความโลภ  หลับไปพร้อมกับความกลัว และความโลภนั้นเช่นกัน

มีเพียงคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่เก่งจนสามารถใช้ความกลัวและความโลภของคนมาเป็นเครื่องมือ ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองได้

คนที่ใช้ความกลัวและความโลภนำพาชีวิต จะต้องวนเวียนหนีไปอยู่อย่างนี้ ไม่มีทางจะลงทุนได้อย่างมีความสุขได้นานๆ เป็นทาสคนที่ใช้ประโยชน์จากความกลัวและความโลภของคนตลอดเวลา

ถ้าจะถามตรงๆไปเลยว่า แล้วทำอย่างไรจึงจะมีชีวิต หรือการลงทุน ที่จะไม่ถูกนำพาไปด้วยอารมณ์ในแง่ลบได้

คำตอบคือ....

ท่านต้องหมั่นคอยสังเกตอารมณ์ของตนเองอยู่เสมอ และรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเองในขณะนั้น


งานกับเงินนั้น อาจจะไม่ได้ค่าตอบแทนเป็นตัวเงินในทุกครั้งไป

งานสังเกตใจ 

ก็เป็นงานของนักลงทุนอย่างหนึ่งครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ราคา คุณค่า กับ มูลค่า (Price, Value and Worth)

การลงทุนกับการเลี้ยงวัว

ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริง หรือ ข้อคิดเห็น (Information, Fact or Opinion)