ใครจะรับภาระนี้ไป



ท่านผู้อ่านหลายคนน่าจะรู้จัก ไมเคิล อี พอร์เตอร์ (Michael E. Porter) ผู้นำเสนอแนวคิดเรื่อง 5 Force Model ทางธุรกิจ 

ในการที่จะเป็นนักลงทุนให้ประสบความสำเร็จ เราควรเน้นย้ำในเรื่องการลงทุนแบบโฟกัส และลงทุนด้วยเงินลงทุนที่มาก ถือหุ้นด้วยเงินทุนส่วนใหญ่ตลอดเวลา ซื้อมาในราคาที่เหมาะสม และถือครองบริษัทหนึ่งๆไปจนกว่ามันจะไม่เป็นบริษัทที่น่าลงทุนอีกต่อไป

คำว่าเป็นบริษัทนี้ เป็นบริษัทที่น่าลงทุนและไม่น่าลงทุนนั้น เป็นคำที่ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของผู้พูดคนนั้นๆเป็นอย่างมาก เป็นคำที่เราไม่ควรใช้ คำที่ผมแนะนำให้ทุกท่านใช้แทนในการสื่อสารถึงหุ้นที่ดีหรือน่าลงทุนนั้นคือคำว่า "การได้เปรียบในทางธุรกิจในเชิงผลกำไร" (Economic advantage) ว่าบริษัทที่เราจะนำเงินไปลงทุนนั้นมี Economic advantage หรือไม่

เช่นถ้าจะถามว่า "การบินไทย" เป็นหุ้นที่ดีหรือไม่ดี อย่าถามเช่นนี้ เป็นคำถามที่ไม่ดี ให้ถามว่า การบินไทยเป็นบริษัทที่มีความได้เปรียบทางธุรกิจในเชิงผลกำไรหรือไม่ หรือการบินไทยมี Economic advantage หรือไม่ จะช่วยให้เข้าใจตรงกันได้มากขึ้น พัฒนาไปทั้งคนถามและคนถูกถาม

ความได้เปรียบในทางธุรกิจมีหลายรูปแบบ แต่ในฐานะนักลงทุน เราควรสนใจในส่วนความสามารถในการทำกำไรให้มากกว่าอย่างอืน "ความสามารถในการทำกำไร" และ "ในระยะยาว" เป็นสิ่งเดียวที่นักลงทุนจะได้ผลลัพธ์กลับคืนมาในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้น

ยังไม่ตอบเรื่องของการบินไทยก่อนนะครับ ขอพูดเรื่องความสามารถในการทำกำไรต่อ

ความสามารถในการทำกำไร คือความสามารถในการสร้างยอดขาย และอัตรากำไรสุทธิไปพร้อมๆกัน (เสมอ) (ท่องไว้เลยครับ)

ตัวอย่างแรก บริษัททางด่วนแห่งหนึ่ง ได้ปรับค่าทางด่วนเพิ่มขึ้นตามสัญญา ปรากฏว่าลูกค้ายังคงใช้บริการเพิ่มขึ้น เนื่องจากทางธรรมดารถติดมาก

ตัวอย่างที่สอง บริษัทเบียร์แห่งหนึ่ง ปรับราคาจากกระป๋องละ 25 เป็น 30 บาท ปรากฏว่า ลูกค้ายังคงดื่มกันเหมือนเดิม เพราะให้ไปกินเหล้าขาวแทนคงไม่ไหว

มาดูตัวอย่างที่ไม่ทำกำไรบ้าง

ตัวอย่างแรก บริษัทชาเขียวยี่ห้อหนึ่ง เดิมมียี่ห้อเดียวในตลาด ต่อมาผู้บริโภคมีทางเลือกหลากหลายมากขึ้น การพยายามเพิ่มยอดขายของบริษัทนี้จากการทำโปรโมชั่น จึงไปพร้อมกับอัตรากำไรสุทธิที่ลดลง อย่างนี้คือความสามารถในการทำกำไรที่ลดลง 

ตัวอย่างที่สอง โรงแรมแห่งหนึ่ง พยายามจะเพิ่มราคาห้องพัก แต่ผลที่ตามมาคือ การอัตราเข้าพักที่ลดลง กำไรกลับลดลง นี่ก็เรียกว่าความสามารถในการทำกำไรที่ลดลง

การที่บริษัทหนึ่งจะมีความสามารถในการทำกำไรที่ดีหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้ง 5 ประการใน 5 Force Model ซึ่งประกอบไปด้วย แรงผลักดันจากลูกค้า แรงผลักดันจากผู้ขายวัตถุดิบหลักให้บริษัท แรงผลักดันจากการแข่งขันในอุตสาหกรรม

แรงผลักดัน แรงผลักดัน

บริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไร คือบริษัทที่ลูกค้ายอมจ่ายเพิ่มถ้ามีการเพิ่มราคาสินค้านั้น ผู้ขายวัตถุดิบหลักยอมมีอัตรากำไรที่ลดลงเพื่อรักษายอดขายกับบริษัทของเราไว้ ผู้เล่นรายอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันถูกจำกัดไม่ให้เข้ามาแข่งขันด้วยปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง 

การวิเคราะห์ 5 Force model ต้องให้เวลา ข้อมูลครบถ้วนลึกซึ้ง รอบคอบ ปีนึงหาเจอแค่หนึ่งหรือสองบริษัทก็พอ

เวลาเราพิจารณาว่าจะทำการลงทุนในบริษัทใดหรือไม่ ก็ให้เริ่มจากหมวดอุตสาหกรรมที่เราสนใจก่อน เช่นหมวดโรงแรม ก็ให้ไปทำความเข้าใจก่อนว่าโรงแรมมีกี่ประเภทอะไรบ้าง การบริหารค่าห้อง การแข่งขัน ความแตกต่างของแต่ละโรงแรม....

เป็นนักลงทุนต้องรู้ลึกในอุตสาหกรรมที่เราจะลงทุน อย่ารู้กว้างแต่มั่ว จะเป็นนักขาดทุน ให้เริ่มจากอุตสาหกรรมที่คุณคิดว่าคุณพอจะรู้เรื่องมากกว่าคนอื่นได้ง่ายก่อน ถ้าคุณเข้าใจอุตสาหกรรมนั้นน้อยกว่าคนอื่น คุณก็ต้องพึ่งพาโชคเป็นอย่างมากแทน


เมื่อรู้ลึกแล้ว ก็ทำการวิเคราะห์ปัจจัยทั้ง 5 ประการที่กล่าวมาในปัจจุบัน และการที่จะรักษามันไว้ได้ในอนาคตครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ราคา คุณค่า กับ มูลค่า (Price, Value and Worth)

การลงทุนกับการเลี้ยงวัว

ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริง หรือ ข้อคิดเห็น (Information, Fact or Opinion)